วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15




บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่   12   กุมภาพันธ์  2557
  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


วันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายของ
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเรียนการสอน


การนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม  โดยมีห้วข้อการนำเสนอดังนี้  

  • ชื่อสื่อ
  • วิธีการเล่น
  • เมื่อเด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร  เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง
  • ปัญหาที่พบเห็น
  • สรุป

สื่อของกลุ่มดิฉัน

แผงไข่นับเลข








 วิธีการเล่น

สามารถเล่นได้ 2  วิธี

วิธีที่ 1   นำตัวเล่นที่เป็นภาพผลไม้ประเภทเดียวกันจำนวนเท่ากัน   มาวาลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5
วิธีที่  2   นำตัวเล่นที่เป็นภาพฮินดูอารบิกที่มีสีเดียวกันและเลขเหมือนกัน     มาวางลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5
**ตัวเล่นของกลุ่มดิฉันจะมี 2 ด้าน  สามารถเล่นได้ 2 แบบ  แบบที่  1 ผลไม้   แบบที่  2  ตัวเลขฮินดูอารบิก  **

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร  ได้ทักษะอะไรบ้าง

หลังจากได้ทดลองเล่นกับน้องกระปุกแล้ว   ผลปรากฏว่า น้องกระปุกสามารถเล่นได้ทั้ง  2   แบบ  สามารถบอกจำนวนและบอกชื่อผลไม้ต่างๆและตัวเลขฮินดูอารบิก  ตั้งแต่ 1-5 ได้
น้องกระปุกได้ทักษะในเรื่องจำนวนนับ   การเปรียบเทียบจำนวน  การเรียงลำดับ   การสังเกต  รูปทรงและขนาน    สี  

ปัญหาที่พบ

  • มีปัญหาในเรื่องตัวเล่น  อาจจะมีขานดเล็ก  
  • การเล่นแบบที่  1  การวางลงในแผงไข่  ตัวเล่นกลับหัว

สรุป

สื่อของดิฉันมีความเหมาะสำหรับเด็ก  เพราะว่าสามารถเล่นได้ง่าย 


                                                                                                                                     จัดทำโดย
   นางสาวเนตรนภา     ไชยแดง
                                                                                                           นางสาวอริสา        ยุนุห์


สื่อที่ดิฉันประทับใจ

เอ๊ะ   มีกี่รูปนะ








เหตุผลที่ชอบ   

 เพราะว่าสามารถเล่นได้หลายคน  และมีตัวเลขมากกว่า 1-5   มีรูปภาพที่หลากหลายเช่นภาพสัตว์  ผลไม้   ของใช้     เป็นต้น


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้


จากการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆทุกกลุ่มประเมินได้ว่า  ประดิษฐ์สื่อได้ดี สวยงาม  และมีประโยชน์ต่อเด็กๆเป็นอย่างมาก   นอกจากนี้เรายังนำเทคนิคจากการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆหรือกลุ่มตัวเองไปบูรณาการทางด้านคณิตศาสตร์ที่แปลกใหม่ได้   การประดิษฐ์สื่อสำหรับเด็กควรคำนึงถึงความคงทน  แข็งแรง  เหมาะสมกับเด็กไม่ยากและง่ายจนเกินไป  และที่สำคัญต้องปลอดภัยสำหรับเด็กอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น