วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   4   ธันวาคม  2556
ครั้งที่  5   เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้


การนำเสนอเกม หรือ กิจกรรมเพิ่มเติม  ของแต่ล่ะกลุ่ม



กลุ่มที่  1.จำนวนและการดำเนินการ (กลุ่มของดิฉันเอง)

เริ่มกิจกรรมแรก    ด้วยการร้องเพลง   เพลงออกกำลังกายกันเถอะ


เนื้อเพลงออกกำลังกาย

กระโดขึ้นส่ายตัวไป แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
การโดขึ้นส่ายตัวไป แล้วหมุนตัวไปรอบๆ
ชูมือซ้าย ชูมือขวา แล้วตบมือพร้อมกัน 
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 
ชูมือขวา ชูมือซ้าย โค้งคำนับให้กัน
(ซ้ำตั้งแต่ต้นจนจบ)


กิจกรรมที่ 2  นำเสนอเกมการศึกษา

  เกมที่  1 เกมจับคู่ภาพที่เหมือนกัน 
ได้มีเพื่อนๆออกมาร่วมกิจกรรมด้วยค่ะ



เกมที่  2  เกมการจับคู่ความสัมพันธ์ของสัตว์



เกมที่  3  เกมการเปรียบเทียบรูปภาพที่ ใหญ่-เล็ก




เกมที่นำเสนอได้ให้ความรู้กับเด็กๆดังนี้


 เกมที่  1  เกมจับคู่ภาพที่เหมือนกัน        สอนให้เด็กสังเกตความเหมือนของรูปภาพ
              เกมที่   2  เกมการจับคู่ความสัมพันธ์ของสัตว์    สอนให้เด็กจับคู่ความสัมพันธ์ของหัวสัตว์แต่ล่ะตัว
              เกมที่  3  เกมการเปรียบเทียบรูปภาพที่ ใหญ่-เล็ก      สอนให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของรูปทรงที่ใหญ่หรือเล็กกว่า





กลุ่มที่ 2. รูปทรงทางเรขาคณิต


เพื่อนๆออกมานำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับ   การต่อภาพ    การเปรียบเทียบ

และให้เปรียบเทียบรูปทรงทางเรขาคณิตกับสิ่งของ  เช่น   รูปสามเหลี่ยมกับหมวก   รูปสี่เหลี่ยมกับกระเป๋า   เป็นต้น



ต่อภาพ


เปรียบเทียบรูปทรงกับสิ่งของ




กลุ่มที่ 3. การวัด

เพื่อนๆให้ดูตัวอย่างเกี่ยวกับการวัด  ดังนี้




การวัดความสูงของตุ๊กตาหมี



การวัดปริมาณของน้ำในแก้ว  เรียงลำดับจากน้อยไปมาก



การวัดความยาวของ ยีราฟ  หนอน   ปลา




กลุ่มที่  4  พีชคณิต


หารูปที่หายไป  และมีความสัมพันธ์กับโจทย์และภาพที่กำหนดขึ้น



กลุ่มที่  5.   การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ตัวอย่างการหาความน่าจะเป็น  ดังนี้
  1. หาความน่าจะเป็นของลูกปิงปอง 3ลูก สีน้ำเงิน สีขาว สีส้ม
  2. หาความน่าจะเป็นของเหรียญ 5บาท
  3. หาความน่าจะเป็นของปากกา 3แท่ง สีเขียว สีชมพู สีส้ม




การหาความน่าจะเป็นของลูกปิงปอง




กิจกรรมท้ายคาบเรียน

เขียนตัวเลขลงตรงกลาง  และประดิษฐ์กรีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เราเขียน


เลข 6



การนำความรู้ไปใช้

จากกิจกรรมการประดิษฐ์ดอกไม้จากตัวเลข  สามานำไปใช้ได้เพราะว่าเด็กได้เรียนรู้
การนับเลข   และการเปรียบเทียบของตัวเลข  ถ้าเด็กๆนำตัวเลขมาเรียงกัน  เช่น 1 - 10 เป็นต้น






ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   27   พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่  4   เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




การนำเสนองานกลุ่ม   มีทั้งหมด  5   กลุ่มดังนี้



กลุ่มที่  1.จำนวนและการดำเนินการ (กลุ่มของดิฉันเอง)





 จำนวน (number)   หมายถึง     วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ    หมวด, หมู่, แผนก, กำหนดนับประมาณที่กำหนดไว้, ยอดรวมที่กําหนดนับไว้เป็นส่วน ๆ
การดำเนินการ    หมายถึง    การกระทำลงมือ จัดการ ,   ปฏิบัติการ   ทำให้เป็นไป , ปฏิบัติหน้าที่ดำเนินการ

จำนวนและการดำเนินการ  คือ การรวมและ การแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

 สาระการเรียนรู้       จำนวนและการดำเนินการ
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
 -การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก  และตัวเลขไทย 
-  การเขียนตัวเลขฮินดู  อารบิก แสดงจำนวน
 -  การเปรียบเทียบจำนวน
-  การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
-  การรวมสิ่งต่าง ๆ  สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
-  การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
 1. ปัจจัยสําคัญที่สอนเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น  คือ
     1.1  ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
      1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
     1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด    
     1.4  ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ

2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย    เช่น
      เล่นเกมต่อภาพ   จับคู่ภาพ  ต่อตัวเลข    ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน   ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึง  อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคลสถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือ ในท้องถิ่น


คุณภาพของเด็กปฐมวัย  สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี          
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
 2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ       
 3) ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ  รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ


คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  4  ปี
 1) เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ
 2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้        
 3) สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 

4)เข้าใจ   รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด


คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ  5  ปี        
  1) เข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 
  2) เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร  สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร

 3)เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก    รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม

รูปภาพการนำเสนอ 









  


กลุ่มที่ 2. รูปทรงทางเรขาคณิต


 รูปทรงทางเรขาคณิต คือ  รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา



รูปทรงต่างๆ ทางเรขาคณิต


กลุ่มที่ 3. การวัด

การวัด  คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร



การวัดส่วนสูงของเด็ก 



กลุ่มที่  4.  พีชคณิต

ประเภทของแบบรูป
1.   แบบรูปจำนวน     มี 2  แบบดังนี้
1.1   รูปแบบของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
1.2   รูปแบบของจำนวนที่ลดลง

2.แบบรูปเรขาคณิต
2.1   แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของรูป 
2.1   แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของสี(สีเหมือนรูปทรงต่าง)
2.3   แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของขนาด (รูปทรงเดียว  สีเดียว  ขนาดต่าง)

3.แบบอื่นๆ
เช่น การสอนให้เด็กแก้ปัญหาแบบรูป  เป็นต้น


                                           
                                              รูปทรงเดียวกัน   ขนาดเดียวกัน   แต่สีต่างกัน


กลุ่มที่  5.   การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


 -เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา     
     ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข( ถึง 1 )ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน




   การนำความรู้ไปใช้

นำความรู้และตัวอย่างจากที่เพื่อนๆนำเสนอไปใช้ในการจัดกิจกรรมความรู้ทางคณิตศาสตร์
เช่น  เกมการศึกษาเกี่ยวกับ  การวัด  การนับเลข  การเปรียบเทียบ   เป็นต้น




วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน   2556
ครั้งที่  3   เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




   การเรียนการสอนในวันนี้  

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีดังนี้

  1.  เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
  2.  เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
  3.  เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
  4.  เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  5.  เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  6.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

                              ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 7 ประเภท 

1. การสังเกต(Observation)
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันในการเรียนรู้
เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำแนกประเภท(Ciassifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3. การเปรียบเทียบ(Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป
เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะ ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ(Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์





5. การวัด(Measurement)
มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ
     **การวัดของเด็กปฐมวัยไม่มีหน่วยในการวัด**

6. การนับ (Counting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำจะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
  **การนับที่ดี   ต้องให้เด็กนับเชื่อมโยงอย่างมีจุกหมายและเข้าใจในการนับหรือนับอย่างมีความหมาย**

7. รูปทรงและขนาด(Sharp  and  Size)
เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน 


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ตัวเลข  ------    น้อย   มาก   น้อยกว่า   มากกว่า
                   ขนาด  ------     ใหญ่   คล้าย   สองเท่า   ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
                       รูปทรง ------     สามเหลี่ยม    วงกลม  สี่เหลี่ยม   ยาว   โค้ง  สั้น
              ที่ตั้ง   ------      บน    ต่ำ   ขวา   สูงที่สุด  ยอด   ระยะทาง
                         ค่าของเงิน  ------        สลึง   ห้าสิบสตางค์     หนึ่งบาท   ห้าบาท
      ความเร็ว  ------        เร็ว    ช้า     เดิน  วิ่ง     คลาน   
อุณหภูมิ     ------     เย็น   ร้อน     อุ่น    เดือด  


ความรู้ที่ได้จากการชม VDO โทรทัศน์ครู

                          เด็กได้เรียนรู้จากสถานที่จริง ดังตัวอย่างใน VDO ที่คุณครูพาออกนอกโรงเรียนไปเรียนในสนาม   และให้เด็กนับเลข  การบวก   การลบ  โดยการเขียนลงที่พื้น   เพื่อฝึกให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเองก่อนที่จะนำมาเขียนลงในกระดาษ


กิจกรรมในวันนี้   

อาจารย์ให้วาดภาพสถานที่ที่เดินผ่านกว่าจะถึงมหาลัย มาจำนวน  3  สถานที่
1.ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้  2. ร้านออนไลน์  3. ร้านข้าวเหนียวหมูปิ้ง
ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้
- ได้เรียนรู้การสังเกต   
- การนับสิ่งต่างๆที่เราเดินผ่านอย่างเช่น นับ จำนวนคน   นับจำนวน รถที่เราเห็นเป็นต้น
- ระยะทาง   จากหอพักถึงมหาลัย  เป็นต้น




การนำความรู้ไปใช้

- สามารถนำทักษะทั้ง 7 ทักษะ  ไปประยุกต์ใช้ในการสอนของเด็กปฐมวัยได้
- ตัวอย่างจากการชม VDO  เราสามารถนำตัวอย่างจากวีดีโอไปสอนได้  เช่น  กิจกรรมนอกห้องเรียนที่ให้เด็กๆลงมือกระทำเอง
- การเรียงลำดับของสถานที่  สอนให้เด็กฝึกการสังเกตจากสิ่งที่พบเห็น