วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี   20  พฤศจิกายน   2556
ครั้งที่  3   เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.

เวลาเข้าสอน   08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




   การเรียนการสอนในวันนี้  

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีดังนี้

  1.  เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
  2.  เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
  3.  เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
  4.  เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  5.  เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  6.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

                              ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 7 ประเภท 

1. การสังเกต(Observation)
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันในการเรียนรู้
เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำแนกประเภท(Ciassifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3. การเปรียบเทียบ(Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป
เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะ ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ(Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์





5. การวัด(Measurement)
มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ
     **การวัดของเด็กปฐมวัยไม่มีหน่วยในการวัด**

6. การนับ (Counting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำจะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
  **การนับที่ดี   ต้องให้เด็กนับเชื่อมโยงอย่างมีจุกหมายและเข้าใจในการนับหรือนับอย่างมีความหมาย**

7. รูปทรงและขนาด(Sharp  and  Size)
เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน 


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ตัวเลข  ------    น้อย   มาก   น้อยกว่า   มากกว่า
                   ขนาด  ------     ใหญ่   คล้าย   สองเท่า   ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
                       รูปทรง ------     สามเหลี่ยม    วงกลม  สี่เหลี่ยม   ยาว   โค้ง  สั้น
              ที่ตั้ง   ------      บน    ต่ำ   ขวา   สูงที่สุด  ยอด   ระยะทาง
                         ค่าของเงิน  ------        สลึง   ห้าสิบสตางค์     หนึ่งบาท   ห้าบาท
      ความเร็ว  ------        เร็ว    ช้า     เดิน  วิ่ง     คลาน   
อุณหภูมิ     ------     เย็น   ร้อน     อุ่น    เดือด  


ความรู้ที่ได้จากการชม VDO โทรทัศน์ครู

                          เด็กได้เรียนรู้จากสถานที่จริง ดังตัวอย่างใน VDO ที่คุณครูพาออกนอกโรงเรียนไปเรียนในสนาม   และให้เด็กนับเลข  การบวก   การลบ  โดยการเขียนลงที่พื้น   เพื่อฝึกให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเองก่อนที่จะนำมาเขียนลงในกระดาษ


กิจกรรมในวันนี้   

อาจารย์ให้วาดภาพสถานที่ที่เดินผ่านกว่าจะถึงมหาลัย มาจำนวน  3  สถานที่
1.ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้  2. ร้านออนไลน์  3. ร้านข้าวเหนียวหมูปิ้ง
ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้
- ได้เรียนรู้การสังเกต   
- การนับสิ่งต่างๆที่เราเดินผ่านอย่างเช่น นับ จำนวนคน   นับจำนวน รถที่เราเห็นเป็นต้น
- ระยะทาง   จากหอพักถึงมหาลัย  เป็นต้น




การนำความรู้ไปใช้

- สามารถนำทักษะทั้ง 7 ทักษะ  ไปประยุกต์ใช้ในการสอนของเด็กปฐมวัยได้
- ตัวอย่างจากการชม VDO  เราสามารถนำตัวอย่างจากวีดีโอไปสอนได้  เช่น  กิจกรรมนอกห้องเรียนที่ให้เด็กๆลงมือกระทำเอง
- การเรียงลำดับของสถานที่  สอนให้เด็กฝึกการสังเกตจากสิ่งที่พบเห็น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น