วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15




บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่   12   กุมภาพันธ์  2557
  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


วันนี้เป็นการเรียนคาบสุดท้ายของ
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเรียนการสอน


การนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม  โดยมีห้วข้อการนำเสนอดังนี้  

  • ชื่อสื่อ
  • วิธีการเล่น
  • เมื่อเด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร  เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง
  • ปัญหาที่พบเห็น
  • สรุป

สื่อของกลุ่มดิฉัน

แผงไข่นับเลข








 วิธีการเล่น

สามารถเล่นได้ 2  วิธี

วิธีที่ 1   นำตัวเล่นที่เป็นภาพผลไม้ประเภทเดียวกันจำนวนเท่ากัน   มาวาลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5
วิธีที่  2   นำตัวเล่นที่เป็นภาพฮินดูอารบิกที่มีสีเดียวกันและเลขเหมือนกัน     มาวางลงในแผงไข่โดยเรียงลำดับจาก 1-5
**ตัวเล่นของกลุ่มดิฉันจะมี 2 ด้าน  สามารถเล่นได้ 2 แบบ  แบบที่  1 ผลไม้   แบบที่  2  ตัวเลขฮินดูอารบิก  **

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร  ได้ทักษะอะไรบ้าง

หลังจากได้ทดลองเล่นกับน้องกระปุกแล้ว   ผลปรากฏว่า น้องกระปุกสามารถเล่นได้ทั้ง  2   แบบ  สามารถบอกจำนวนและบอกชื่อผลไม้ต่างๆและตัวเลขฮินดูอารบิก  ตั้งแต่ 1-5 ได้
น้องกระปุกได้ทักษะในเรื่องจำนวนนับ   การเปรียบเทียบจำนวน  การเรียงลำดับ   การสังเกต  รูปทรงและขนาน    สี  

ปัญหาที่พบ

  • มีปัญหาในเรื่องตัวเล่น  อาจจะมีขานดเล็ก  
  • การเล่นแบบที่  1  การวางลงในแผงไข่  ตัวเล่นกลับหัว

สรุป

สื่อของดิฉันมีความเหมาะสำหรับเด็ก  เพราะว่าสามารถเล่นได้ง่าย 


                                                                                                                                     จัดทำโดย
   นางสาวเนตรนภา     ไชยแดง
                                                                                                           นางสาวอริสา        ยุนุห์


สื่อที่ดิฉันประทับใจ

เอ๊ะ   มีกี่รูปนะ








เหตุผลที่ชอบ   

 เพราะว่าสามารถเล่นได้หลายคน  และมีตัวเลขมากกว่า 1-5   มีรูปภาพที่หลากหลายเช่นภาพสัตว์  ผลไม้   ของใช้     เป็นต้น


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้


จากการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆทุกกลุ่มประเมินได้ว่า  ประดิษฐ์สื่อได้ดี สวยงาม  และมีประโยชน์ต่อเด็กๆเป็นอย่างมาก   นอกจากนี้เรายังนำเทคนิคจากการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆหรือกลุ่มตัวเองไปบูรณาการทางด้านคณิตศาสตร์ที่แปลกใหม่ได้   การประดิษฐ์สื่อสำหรับเด็กควรคำนึงถึงความคงทน  แข็งแรง  เหมาะสมกับเด็กไม่ยากและง่ายจนเกินไป  และที่สำคัญต้องปลอดภัยสำหรับเด็กอีกด้วย




ครั้งที่ 14



บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่   5   กุมภาพันธ์    2557
  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.





ไม่มีการเรียนการสอน   เนื่องจากอาจารย์ไปประชุม

ช่วยกันประดิษฐ์สื่อและเตรียมตัวนำเสนอในสัปดาห์หน้า

ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่   29    มกราคม  2557
  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.
  

กิจกรรมการเรียนการสอน 


             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกเขียนแผนการสอน   วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   แบ่งเป็นกลุ่ม  4-5   คน     เขียน  3    แผน     โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่า
  • การเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรม
  • การเขียนวัตถุประสงค์ต้องให้สอดคล้องกับการวัดและการประเมินผล    
  • การเขียนวัตถุประสงค์ห้ามมีคำว่า เด็กเข้าใจ   เพราะว่าครูผู้สอนจะไม่สามารถวัดและประเมินผลได้
  • การเขียนวัตถุประสงค์ควรมีคำว่า  เด็กบอก,เล่า,ระบุ,แสดง เป็นต้น  เพราะว่าครูผู้สอนสามารถวัดและประเมินผลได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรม
             เมื่อนักศึกษาเขียนแผนการสอนเสร็จแล้ว  แต่ละกลุ่มให้เลือกแผนที่ดีที่สุดและไม่ซ้ำกับเพื่อน  ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


ภาพการทำงานร่วมกัน













แผนการสอนของกลุ่มดิฉัน




แผนการจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำเด็กปฐมวัย   ชั้น อนุบาล   1

ชื่อกิจกรรม    ตัวเลขหรรษา






แผนการจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำเด็กปฐมวัย   ชั้น อนุบาล   2

ชื่อกิจกรรม     พระอาทิตย์จอมขี้เกียจ





แผนการจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์สำเด็กปฐมวัย   ชั้น อนุบาล   3

ชื่อกิจกรรม    มันคืออะไร ?








การนำเสนอของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มคะ











                        ความพิเศษของ   2  กลุ่มจากภาพด้านล่างนี้  คือ   นำเสนอเป็นภาษาใต้  ผู้ฟังสนุกและขำมากๆเลยคะ   อาจารย์ก็สนุกขำหัวเราะ จนน้ำตาไหลเลย





  ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้

  • ได้รู้ถึงขั้นตอนการเขียนแผนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ได้เรียนรู้ถึงการเขียนวัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง
  • สามารถเลือกแผนการสอนให้ตรงกับช่วงชั้นและพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
  • การเขียนแผนการสอนเหมือนครูวางแผนว่าจะสอนเรื่องอะไร  สอนอย่างไร   หากลืมหรือจำไม่ได้ก็จะได้นำแผนมาดูเพื่อจะได้แก้ไขตรงจุด




ครั้งที่ 12



บันทึกอนุทึน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่   22   มกราคม  2557
  เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้


อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมร่วมกัน   2   กิจกรรม  


กิจกรรมที่    1   


    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละเท่าๆกัน   ให้ประดิษฐ์รูปภาพอะไรก็ได้จากทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  เช่น   วงกลม    สามเหลี่ยม    สี่เหลียม   เป็นต้น   ตั้งชื่อรูปภาพของกลุ่มตัวเอง  และออกมานำเสนอว่าภาพของแต่ละกลุ่มเด็กได้คณิตศาสตร์อย่างไร

ภาพการดำเนินงานของกลุ่มดิฉันค่ะ



ช่วยกันตัดกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิต


ตัดแปะ ตกแต่งให้สวยงาม


ผลงานของกลุ่มดิฉันค่ะ


ชื่อภาพ  6  สหายเพื่อนรัก


ออกมานำเสนอภาพของแต่ะละกลุ่ม (และถ่ายภาพร่วมกัน)



ชื่อภาพ     6  สหายเพื่อนรัก   เด็กได้คณิตศาสตร์จากการสังเกต   รูปทรงต่างๆ    สี    และพีชคณิต




ภาพของแต่ละกลุ่มสวยๆกันทุกกลุ่มเลยค่ะ  
 (วันนี้อาจารย์แต่งตัวน่ารักดีค่ะไม่เคยเห็นอาจารย์ใส่แบบนี้เลยอาจจะเป็นอากาศหนาว)

ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้

- ความรู้ที่เด็กได้จากภาพโดยการสังเกต   จำแนก   การนับจำนวนของภาพและรูปทรงต่างๆ    การเรียงลำดับและการเปรียบเทียบของภาพ
-    การนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม  ครูผู้สอนอาจจะเป็นนิทานประกอบภาพได้หรืออาจจะให้เด็กเป็นผู้เล่าเองโดยให้เด็กจินตนาการจากภาพที่เด็กเห็น






กิจกรรมที่    2   


ก่อนเริ่มกิจกรรมอาจารย์ให้ดูผลงานและได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ  การจำแนก    การเปรียบเทียบ     การสำรวจ   และความแตกต่าง   ผลงานของครูและเด็กในโรงเรียนต่างๆ

ตัวอย่าง

ภาพที่   1   การจำแนก


ภาพที่   1   การจำแนกประเภทของสัตว์มีพิษและไม่มีพิษ


ภาพที่   2   การเปรีบยเทียบความเเหมือนและความแตกต่าง


ภาพที่   2   การเปรีบยเทียบความเเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างชายและหญิง


ภาพที่  3   การสำรวจ


ภาพที่  3    การสำรวจร่มในแบบที่หนูชอบ


มอบหมายงาน

               จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม  3  กลุ่ม    กลุ่มละเท่าๆกัน   ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาหยิบฉลากว่ากลุ่มไหนได้ หัวข้ออะไร   โดยมีหัวข้อดังนี้   1.การเปรียบเทียบ     2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง    3.การสำรวจสื่งที่ชอบ และให้ช่วยกันคิดชื่อกิจกรรมตามหัวข้อของแต่ละกลุ่มที่หยิบได้     และส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอและสรุปร่วมกัน


กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง  กลุ่มที่ 1   การเปรียบเทียบ     
ชื่อกิจกรรม   คือ     การเปรียบเทียบระหว่างของใช้ในห้องนอนกับห้อง



ช่วยกันคิดวางแผนว่ากลุ่มเราจะทำเรื่องอะไร


สมาชิกในกลุ่ม



ชื่อกิจกรรม   คือ     การเปรียบเทียบระหว่างของใช้ในห้องนอนกับห้องครัว



ช่วยกันเขียน    ตัดแปะ    วาด    เสร็จแล้วค่ะ




ตัวแทนกลุ่ม(ช่อผกา)ออกมานำเสนอ  พร้อมสรุปกับเพื่อนในห้อง




ประโยชน์ที่ได้รับ


                  เด็กได้เรียนรู้การเปรียบเทียบของใช้ในห้องนอนและห้องครัวว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร   แล้วนำมาจำแนกว่าของใช่สิ่งไหนอยู่ในห้องไหน  เช่น  ครก   ถ้วย  มีด  อยู่ในห้องครัว     และ  เตียง  ตู้   หมอน    อยู่ในห้องนอน    และของใช้บางชิ้นชวนให้เด็กคิดถึงความน่าจะเป็นว่าควรอยู่ในห้องไหน   ของใช้บางอย่างสามาอยู่ได้ทั้งสอง เช่น  พัดลม    เก้าอี้    อันนี้ขึ้นอยู่กับความคิดของเด็กว่าจะจัดอยู่ในห้องไหน

การนำไปใช้

               การนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กควรนำเรื่องที่ง่ายๆสำหรับเด็กปฐมวัย    เด็กสามารถสังเกต    จำแนก     เปรียบเทียบ    และสำรวจได้     ไม่ควรเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากเกินไป    



ภาพการนำเสนอของกลุ่มเพื่อนๆ  


กลุ่มที่  2    การเปรีบยความเหมือนความแตกต่างระหว่งแมวกับวัว



ประโยชน์ที่เด็กได้รับ

                 เด็กได้เรียนรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่างของสัตว์  2  อย่าง  คือ วัว กับแมว   ว่ามีความเหมือนกันอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไร   โดยการสังเตก    การเปรียบเทียบ    และความน่าจะเป็น  เป็นต้น



กลุ่มที่  3   การสำรวจสัตว์แบบใดที่หนูชอบ



ประโยชน์ที่เด็กได้รับ

            เด็กได้เรียนรู้ถึงเกี่ยวกับสัตว์ที่ตนเองชอบ ครูกำหนดดังนี้  ผีเสื้อ   ปลา   แมว   นก    แล้วได้แสดงความคิดของตนเองโดยการนำกระดาษไปติดให้ตรงกับช่องสัตว์ที่ตนชอบ    เมื่อเด้กติดครบหมดทุกคน ครูสรุปว่าเด็กๆชอบสัตว์ประเภทไหนบ้าง   


การนำไปประยุกต์ใช้

  • การจัดกิจกรรมให้กับเด็กควรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ครูจะจัดก่อน  เช่นจะสอนเรื่องสัตว์ ก้ให้ความรู้ถึงประเภท   ที่อยู่   อาหาร    เป็นต้น
  • การใช้ภาพจริงหรือของจริงนำมาให้เด็กเห็นได้ชัดเจน